• Home
  • ความรู้วิชาการ

ฮีตเตอร์ (Heater) เทอร์โมคัปเปิ้ล (thermocouple) RTD Pt100

ฮีตเตอร์ คืออะไร?

ฮีตเตอร์คืออุปกรณ์ที่ทำให้เกิดความร้อน หรือ เครื่องที่กำเนิดความร้อน เพื่อผลิตหรือแปรรูปสินค้าในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม หรือในงานเกษตรกรรม เช่น ฮีตเตอร์ ใช้เพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นในกระบวนการผลิตอาหาร (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป)การฉีดขึ้นรูปพลาสติก การซีลซองเพื่อห่อขนม ห้องอบลดความชื้น ห้องอบสี งานบรรจุหีบห่อ งานอบเซรามิกส์ อบอาหารและยาอบเมล็ดพันธุ์พืช งานต้มน้ำต้มสารเคมี เป็นต้น

พลังงานความร้อนมีหน่วยเป็น จูล (Joul)หรือ บีทียู (Btu)ความร้อนที่เกิดจากตัวฮีตเตอร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมนั้นเกือบทั้งหมด จะได้มาจากพลังงานไฟฟ้า (หน่วยของพลังงานไฟฟ้ามีหน่วยเป็น Watt ซึ่งส่วนมากจะใช้หน่วยบอกพลังงานความร้อนจากฮีตเตอร์เป็นวัตต์ Watt ด้วย ซึ่งพอจะอนุโลมให้ใช้ได้เช่นกันเสมอซึ่งไม่มีอะไรผิด)

รายละเอียดเพิ่มเติม

ฮีตเตอร์แท่งแบบพิเศษ

  1. ฮีตเตอร์แท่งที่มีส่วนที่เย็น 1 ส่วน หรือมากกว่า บางการใช้งานอีตเตอร์แท่งไม่ต้องการความร้อนตลอดแท่ง สามารถสั่งทำได้ เพียงแต่ระบุว่าส่วนไหนไม่ต้องการพันลวด
  2. round-cartridge-thermal1
  3. การกระจายความร้อนสม่ำเสมอทั้งตัว ตรงกลางฮีตเตอร์แท่งที่มีการพันลวดที่เท่ากันตลอด จะร้อนกว่าตอนปลายท่อทั้งสอง เนื่องจากความร้อนจากลวดทั้งสองข้าง ดังนั้นถ้างานบางชนิดต้องการความร้อนสม่ำเสมอตลอดท่อ ก็ต้องพันลวดตรงกลางห่างกว่าตรงปลายท่อทั้งสอง

รายละเอียดเพิ่มเติม

ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) แตกต่างจาก ฮีตเตอร์เส้น, ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) อย่างไร?

ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจเรื่องฮีตเตอร์เส้นหรือฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ลักษณะของฮีตเตอร์เป็นท่อตรงกลมเป็นเส้นตรงก่อนจะมีการดัดเป็นรูปต่าง ๆ ทำให้เกิดฮีตเตอร์ตัวยู (U Heater), ฮีตเตอร์คอยล์ (Coil Heater), ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เป็นต้น

คลิกดูรายละเอียดทั้งหมด

ทำไมฮีตเตอร์ที่เก็บไว้นานถึงระเบิดหรือช็อตง่าย?

ก.ทำไมฮีตเตอร์แท่งผลิตจากโรงงานใหม่ ๆ จึงใช้ได้นาน แต่ฮีตเตอร์ที่ส่งมาพร้อมกันและลูกค้าเก็บไว้ในสต็อกนาน ๆ แล้วจึงใช้ได้ไม่นาน

ฮีตเตอร์แท่งและฮีตเตอร์เกือบทุกชนิด (ดูโครงสร้างของฮีตเตอร์แท่งหรือฮีตเตอร์ท้อกล่องเป็นตัวอย่าง) จะประกอบด้วยลวดความต้านทาน (ลวดฮีตเตอร์หรือลวดนิโครม) แมกนิเซียมออกไซด์และท่อโลหะ ข้อสำคัญในกระบวนการผลิตลวดและท่อโลหะจะถูกทำความสะอาด เพื่อไม่ให้เหลือเศษผงหรือน้ำมันหรือสิ่งสกปรกอื่น ๆ เหลือค้างอยู่ภายในท่อ ซึ่งเมื่อฮีตเตอร์ทำงานจะร้อนมากสิ่งสกปรกเหล่านี้จะถูกทำให้ไหม้กลายสภาพเป็นคาร์บอน(ถ่าน) ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าทำให้ฮีตเตอร์ช๊อตเสียเลยหรือมีโอกาสเสียได้ง่ายในอนาคตไม่นาน ส่วนแมกนิเซียมออกไซด์ซึ่งอยู่ในรูปแบบผงสีขาวบริสุทธิ์ ต้องแยกสิ่งเจือปนเช่นเศษเหล็ก เศษกระดาษ ฯลฯ ที่อาจตกหล่นลงไปในถุงเก็บผงฯลฯ ด้วยการร่อนผ่านตระแกรงขนาดเล็ก และใช้แม่เหล็ก แล้วจึงนำไปนำไปอบอีกทีก่อนนำไปใส่ในท่อฮีตเตอร์แท่ง เพราะจะทำให้ฮีตเตอร์ช๊อตหรือมีโอกาสช๊อตง่ายในอนาคต

คลิกดูรายละเอียดทั้งหมด

ฮีตเตอร์แท่ง ฮีทเตอร์แยก

ฮีตเตอร์แท่งแบบสามารถแยกก้นของฮีเตอร์ออกจากกันได้ (Split-Sheath Cartridge Heaters)

ฮีตเตอร์แท่งสามารถออกแบบให้แยกก้น (ด้านที่มีสายไฟฟ้า) ออกจากกันได้ เรียกง่ายๆว่าฮีทเตอร์แยก ซึ่งสามารถดูได้จากรูปด้านล่างดังต่อไปนี้

คลิกดูรายละเอียดทั้งหมด

โครงสร้างภายในฮีตเตอร์แท่ง แบบความปานกลาง

โครงสร้างภายในฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) แบบ Low Density (L)

ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) แบบ Low Density (L) (ความร้อนปานกลาง) เป็นคาร์ทริดจ์ฮีทเตอร์ที่มีค่า Specific load ต่ำกว่ารุ่น High Density (H) ตัวฮีทเตอร์ประกอบด้วย ขดลวดความร้อนพันอยู่บนแกน ทนความร้อนสูง, ท่อสเตนเลส และอัดแน่นด้วยผงแมกนีเซียมอ๊อกไซด์ MgO เพื่อให้การถ่ายเทความร้อนเป็นไปด้วยดี

คลิกดูรายละเอียดทั้งหมด

โครงสร้างภายในฮีตเตอร์แท่ง แบบความร้อนสูง

โครงสร้างภายในฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) แบบ High Density (H)

ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) แบบ High Density (H) เป็นคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ที่ทำอุณหภูมิได้สูง มีค่า Specific load สูง ประกอบด้วยท่อสเตนเลส, แกนพันขดลวดทำจากแมกนีเซียมอ๊อกไซด์อัดขึ้นรูปเป็นแท่ง, ขดลวดความร้อน ถูกกั้นด้วยฉนวนแมกนีเซียมอ๊อกไซด์ MgO อัดแน่นอยู่รอบนอกอีกที, ฮีทเตอร์กับตัวปลอกวางห่างกันเล็กน้อย ช่วยให้การส่งผ่านความร้อนทำได้ดี และยังช่วยให้อายุการใช้งานของฮีทเตอร์ยาวนานและมีกำลังวัตต์ต่อพื้นที่ (Watt / cm²) สูงขึ้น

คลิกดูรายละเอียดทั้งหมด